ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่า จะแบ่งประเภทโดยใช้เกณฑ์ใดในการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ ฉะนั้น ผมจึงได้รวบรวมเอาข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของคอมพิวเตอร์ตามการแบ่งประเภทแบบต่าง ๆ มาไว้ในบทความนี้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประเภทของคอมพิวเตอร์ มีข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจากแหล่งอื่นอีก ฉะนั้น เรามาดูกันเลยดีกว่าว่า คอมพิวเตอร์นั้นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และแต่ละประเภทของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เราได้รู้จักกับคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามขนาดและศักยภาพเครื่อง)

1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือเรียกกันในอีกชื่อว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer ตัวย่อ PC) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับส่วนบุคคล มีขนาดไม่ใหญ่ เคลื่อนย้ายและพกพาได้ เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ราคาไม่สูงมาก ซึ่งไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
Desktop Computer

  • คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นประเภทไมโครคอมพิวเตอร์ที่เน้นการใช้งานแบบอยู่กับที่ ไม่ต้องเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนบ่อย แต่ก็สามารถเคลื่อนย้ายได้เมื่อจำเป็น มีขนาดและน้ำหนักพอสมควร คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอย่างมากสำหรับการใช้งานส่วนบุคคล โดยเฉพาะเมื่อต้องการศักยภาพของคอมพิวเตอร์ในระดับที่ดีพอสำหรับการใช้งานส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมักเป็นตัวเลือกแรกสำหรับความต้องการดังกล่าว

    คอมพิวเตอร์โน๊ะบุ๊ค
    Laptop Computer หรือ Notebook Computer

  • คอมพิวเตอร์เคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) หรือเรียกกันในอีกชื่อว่า คอมพิวเตอร์แล็บท็อบ (Laptop Computer) หรือ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Notebook Computer) เป็นประเภทไมโครคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาให้สามารถเคลื่อนย้ายและพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก จึงทำให้มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา มีแบตเตอรี่ในตัว แต่ด้วยขนาดที่จำกัด ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวม ด้อยกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่ก็ได้รับความนิยมไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องด้วยวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ที่ต้องการความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ก็ได้รับความนิยมไม่น้อยเลยทีเดียว
เวริ์คสเตชั่นคอมพิวเตอร์
Workstation Computer

2. เวิร์คสเตชั่นคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) หรือเรียกในอีกชื่อว่า ซุปเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ (Super Micro Computer) มีลักษณะคล้ายกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและมีการใช้งานแบบส่วนบุคคลเช่นเดียวกัน แต่ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไปและมีขนาดที่ใหญ่กว่า เวิร์คสเตชั่นคอมพิวเตอร์เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่มักถูกนำมาใช้กับงานที่ต้องการประสิทธิภาพการประมวลผลที่สูงกว่า อาทิ การออกแบบที่มีความซับซ้อนสูงและมีลักษณะเป็น 3 มิติ เป็นต้น

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่ถูกออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ มีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ด้วยลักษณะเฉพาะนี้เอง จึงทำให้มีการนำมินิคอมพิวเตอร์มาใช้กันในองค์กรที่ต้องการอาศัยศักยภาพของคอมพิวเตอร์ร่วมกัน และมักเป็นการใช้กับงานบางอย่างโดยเฉพาะ

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
Mainframe Computer

4. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้ อาทิ ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสถิติผู้บริโภค เป็นต้น เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้มากกว่ามินิคอมพิวเตอร์และมีประสิทธิภาพมากกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่มักถูกนำมาใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการศักยภาพคอมพิวเตอร์ระดับสูง อาทิ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย และบริษัทด้านเทคโนโลยี เป็นต้น

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
Super Computer

5. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูงสุดในบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหมดและมีราคาสูงเป็นอย่างมาก จึงทำให้ในโลกนี้มีเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่เพียงไม่กี่เครื่องเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะมีแค่เฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่ของบางประเทศ มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำและในบริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์มีไว้สำหรับใช้ในการประมวลข้อมูลที่มีความซับซ้อนสูงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ก็เพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูลให้สั้นลง และเพื่อให้สามารถนำผลลัพธ์ที่นั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทันความต้องการ อาทิ การวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ การควบคุมทางอวกาศ การประมวลผลภาพทางการแพทย์และการทหาร เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน)

1. คอมพิวเตอร์สำหรับงานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะและสามารถใช้งานได้กับซอฟต์แวร์เฉพาะ และด้วยความเฉพาะนี้ จึงทำให้มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้อยู่ในวงจำกัดเท่านั้น อาทิ ใช้สำหรับควบคุมสัญญาณไฟจราจร ควบคุมลิฟท์ ควบคุมระบบอัตโนมัติ เป็นต้น

2. คอมพิวเตอร์สำหรับงานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้ยืดหยุ่นหรือสามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลายตามความต้องการผู้ใช้ สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ได้หลากหลายโปรแกรม มีการใช้งานกันในวงกว้างหรือทั่วไป

ประเภทของคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามหลักการทำงาน)

1. คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ลักษณะการส่งสัญญานที่เรียกว่า Analog Signal เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่มักใช้กับแสดงผลออกด้วยการสเกลหน้าปัทม์และการใช้เข็มชี้ อาทิ การวัดค่าความยาวโดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด การวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทโดยเปรียบเทียบกับสเกลข้างในหลอดแล้ว การวัดความเร็วรถยนต์โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนหน้าปัดรถยนต์ด้วยการใช้เข็มชี้ไปที่เลขบนหน้าปัดรถยนต์ เป็นต้น

2. คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ใช้การส่งสัญญาณที่เรียกว่า Digital Signal ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันโดยทั่วไปนั้นเอง ในการส่งสัญญาณของคอมพิวเตอร์ดิจิตอลนั้น จะต้องอาศัยไฟฟ้าเพื่อช่วยในการทำงาน กล่าวคือ ในการส่งข้อมูลจะต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้า ซึ่งเป็นสัญญาณที่มนุษ์สัมผัสรับรู้ไม่ได้ โดยการส่งสัญญาณจากต้นทางเป็นแบบ Analog Signal แล้วเปลี่ยนเป็น Digital Signal แล้วจึงส่งมาเพื่อทำการประมวลผลและเปลี่ยนกลับมาเป็น Analog Signal เพื่อแสดงผลออกมาให้มนุษย์สามารถรับรู้ได้ที่ปลายทาง

3. คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer) เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ที่อาศัยการทำงานแบบผสมผสานของ Analog Computer และ Digital Computer โดยส่วนใหญ่มักถูกนำมาใช้ในการงานเฉพาะด้าน อย่างเช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ อาทิ การใช้ทำเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศที่ใช้ Analog Computer ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ส่วนการคำนวณระยะทางใช้ Digital Computer ในการคำนวณ เป็นต้น

จากที่กล่าวมา คือ ประเภทของคอมพิวเตอร์ที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันประเภทของคอมพิวเตอร์อาจมีมากกว่านั้น เพราะเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์นั้นพัฒนามาไกลจากอดีตมากแล้ว อีกทั้งยังมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์อีกมากมาย อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เครื่องพีดีเอ เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีลักษณะไม่ต่างอะไรไปจากประเภทของคอมพิวเตอร์ดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งรูปลักษณ์อาจจะต่างออกไป แต่แนวคิดของอุปกรณ์ก็ถือว่าไม่ได้ต่างกันแต่อย่างใด

Korlidun

ชีวิต ก็เปรียบเสมือนการเดินทาง สิ่งที่น่าดีใจคือไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ สิ่งที่น่าเสียคือย้อนกลับไปไม่ได้ youtube facebook twitter instagram rss

Post a Comment

Previous Post Next Post